ใส่คำที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณด้านล่าง แล้วเครื่องมือตั้งชื่อบริษัทจะคิดค้นชื่อธุรกิจและโดเมนให้กับคุณ
ประเภทของการประกอบธุรกิจ
การประกอบธุรกิจสามารถดำเนินการได้ในหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะดำเนินงานโดยเป็นเจ้าของเพียงคนเดียว หรือดำเนินงานในลักษณะของหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือจัดทำในรูปแบบมหาชนที่ให้ประชาชนคนทั่วไปมีสิทธิ์เป็นผู้ถือหุ้นร่วมได้ หากคุณมีความประสงค์ที่จะก่อตั้งบริษัทในเบื้องต้น ก็ต้องลองศึกษาประเภทธุรกิจในเบื้องต้นก่อน เพื่อดูว่าการดำเนินธุรกิจแบบไหนที่ตรงตามจุดประสงค์ในการดำเนินธุรกิจของคุณมากที่สุด
การประกอบธุรกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน ได้แก่
1. ไม่เป็นนิติบุคคล (อาจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เสียภาษีในอัตราก้าวหน้า)
- กิจการร้านค้าเจ้าของคนเดียว
กิจการที่มีเจ้าของลงทุนและดำเนินงานเองทั้งหมดคนเดียว ตัวอย่างเช่น นายหน้า ร้านขายของ รวมทั้งการขายออนไลน์ และการให้บริการต่าง ๆ ซึ่งการค้าเร่ การค้าแผงลอย ไม่ต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจดทะเบียนพาณิชย์ เยี่ยมชมได้ที่นี่ dbd.go.th
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ
การก่อตั้งกิจการร่วมกันสำหรับบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งเป็นแบบไม่จำกัดความรับผิด โดยหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดร่วมกัน
2. เป็นนิติบุคคล (จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมาย ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล)
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ซึ่ง จะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ โดยต้องรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด ส่วนหุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด จะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมด
- บริษัทจำกัด
การก่อตั้งกิจการร่วมกันสำหรับบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป โดยแบ่งทุนออกเป็นหุ้น มูลค่าเท่า ๆ กันในหนึ่งหุ้น ซึ่งผู้ลงทุนได้ชื่อว่าเป็นผู้ถือหุ้น ซึ่งรับผิดไม่เกินจำนวนที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ
- บริษัทมหาชนจำกัด
บริษัทที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยมีความรับผิดแบบจำกัดไม่เกินจำนวนของเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ
- องค์กรธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ
ได้แก่ สมาคมการค้า และหอการค้า
- ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญแบบจดทะเบียน มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
ข้อดีของการจดทะเบียนนิติบุคคล
- สร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ
- จ่ายภาษีจากผลกำไรที่เกิดขึ้นจริง
- จ่ายภาษีน้อยกว่าแบบบุคคลธรรมดา เนื่องจากจ่ายในอัตราภาษี 20% แทนที่จะเป็นแบบอัตราก้าวหน้าที่สูงสุดถึง 35%
- มีการบริหารทางการเงินที่ชัดเจนและโปร่งใส
- มีโอกาสที่จะเติบโตทางธุรกิจมากขึ้น เนื่องจากมีเครดิตที่ดีกับธนาคารในการกู้เงินเพื่อนำมาลงทุนขยายกิจการในอนาคตได้
การเสียภาษีของนิติบุคคล
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้แก่ บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด และห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน กิจการร่วมค้า และมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ เป็นต้น ส่วนผู้ไม่ได้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศ ที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ ได้แก่ บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด และห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน และกิจการร่วมค้า โดยการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีจะต้องใช้เกณฑ์สิทธิ คือ การคำนวณรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชี แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น พร้อมรายจ่ายที่เกี่ยวกับรายได้นั้น
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี และการยื่นภาษีจะต้องยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี และตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ผู้ที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือบริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน ส่วนผู้ประกอบการที่มีแผนงานดำเนินการที่ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ โดยการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถดำเนินการแบบออนไลน์ได้ที่ www.rd.go.th โดยผู้ประกอบต้องยื่นคำขอแจ้งใช้สิทธิเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01.1 และคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01
ตั้งชื่อบริษัทของคุณง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือตั้งชื่อบริษัทจาก Business Name Generator
หากคุณต้องการที่จะตั้งบริษัทเป็นของตัวเอง เราแนะนำให้ใช้เครื่องมือตั้งชื่อบริษัทจาก Business Name Generator ช่วยคิดค้น ง่าย ๆ เพียงแค่ 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. รวบรวมคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ
ขั้นตอนแรกของการคิดชื่อบริษัทก็คือ การคิดถึงคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ ที่สามารถสื่อถึงสิ่งที่ธุรกิจของคุณดำเนินการได้ พร้อมทั้งหาคำพ้องความหมาย หรือคำศัพท์ที่อธิบายถึงธุรกิจของคุณเพิ่มเติมได้ด้วย เพื่อนำมาใช้เป็นพื้นฐานคำสำหรับชื่อบริษัทของคุณ การตั้งชื่อบริษัทเป็นภาษาอังกฤษ ก็จะทำให้ชื่อสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
2. ใส่คีย์เวิร์ดลงไปในเครื่องมือตั้งชื่อบริษัท
นำคีย์เวิร์ดที่คุณลิสต์เป็นรายการออกมา มาใส่ในเครื่องมือตั้งชื่อบริษัทจาก Business Name Generator เพื่อให้ระบบช่วยคิดค้นชื่อบริษัทที่น่าสนใจออกมาให้โดยอัตโนมัติหลายร้อยรายการ
3. เลือกชื่อที่ใช่ พร้อมจดโดเมนบริษัทสำหรับพัฒนาเว็บไซต์
หลังจากที่คุณได้รายการชื่อบริษัทจากเครื่องมือตั้งชื่อบริษัทมาจำนวนหนึ่งแล้ว ก็ลองตรวจสอบทีละรายการว่า มีคนนำชื่อเหล่านั้นไปตั้งเป็นชื่อโดเมนเว็บไซต์แล้วหรือยัง เพราะถ้ามีแล้ว นั่นหมายความว่าชื่อเหล่านั้นอาจถูกนำไปตั้งเป็นชื่อธุรกิจหรือชื่อบริษัทแล้วได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถตรวจสอบชื่อบริษัทที่จดทะเบียนเรียบร้อยได้ที่เว็บไซต์ทางการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า datawarehouse.dbd.go.th ซึ่งคนต้องลงทะเบียนเพื่อเป็นสมาชิกก่อนเข้าใช้บริการ
และนี่ก็คือข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจและการจัดตั้งบริษัทที่คุณควรรู้ ตั้งแต่ประเภทของธุรกิจและความแตกต่างของแต่ละประเภท การเสียภาษีของนิติบุคคล และการตั้งชื่อบริษัทง่าย ๆ ด้วย Business Name Generator แพลตฟอร์มที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยให้การคิดค้นชื่อธุรกิจและบริษัทนั้นง่ายและสะดวกมากขึ้น นอกจากนั้น คุณยังสามารถตรวจสอบได้อย่างต่อเนื่องเลยว่า ชื่อนั้นมีการนำไปจดทะเบียนชื่อโดเมนแล้วหรือยัง
ถ้ายังก็สามารถจดทะเบียนโดเมนนั้นเพื่อเป็นเจ้าของได้ในทันที แต่ถ้าพบว่าชื่อนั้นมีการนำไปจดทะเบียนโดเมนแล้ว ก็ต้องตรวจสอบเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่งว่า มีการสร้างเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือยัง หรือเป็นเพียงการซื้อโดเมนเพื่อขายต่อในลักษณะของสินทรัพย์เท่านั้น ซึ่งถ้าคุณสนใจในชื่อนั้นจริง ๆ ก็สามารถติดต่อเจ้าของเพื่อซื้อต่อได้ แต่ถ้าชื่อนั้นมีการนำไปใช้อย่างเป็นกิจจะลักษณะแล้ว ก็ต้องค้นหาชื่อเพิ่มเติมกับเครื่องมือตั้งชื่อบริษัท เพื่อให้ได้ชื่อที่แตกต่างจากคนอื่น ทั้งยังเหมาะสำหรับเป็นชื่อบริษัทของคุณจริง ๆ
อ้างอิง:
- https://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=36
- https://www.dbd.go.th/download/goodgov_file/ebook61/e-book61.pdf
- https://www.dbd.go.th/download/pdf/thailand.pdf
- https://drive.google.com/file/d/1dF5zcrh9szJi1nspfBT6v1VfNBfynb4H/view
- https://drive.google.com/file/d/1hD7cMOjzh9TuL2Bj5eFvP34dUME-X0hG/view
- https://www.dbd.go.th/download/downloads/03_boj/intro_step_bj_establish_1.pdf
- https://www.rd.go.th/835.html
- https://www.rd.go.th/7061.html